GWM เปิดเวทีเสวนา “EV & Beyond by GWM” ครั้งที่ 2 ฉายภาพอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าไทย

เกรท วอลล์ มอเตอร์?เดินหน้าจัดงานเสวนา ?EV & Beyond by GWM? ต่อเนื่องเป็นปีที่?2?ในหัวข้อ??Be Ready For The Future Of EV?จับตาอนาคต?EV?ไทย?มีหวังแค่ไหน??ร่วมกับ?THE STANDARD WEALTH?ฉายภาพแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตอกย้ำความพร้อมเดินหน้าไปสู่เป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นในการรับมือความท้าทายและเสนอกลยุทธ์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์และเติมเต็มระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เติบโตไปพร้อม ๆ กัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยภายในงาน ได้รับเกียรติจากผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งจากทางภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมเสวนา?EV & Beyond by GWM?ปีนี้จัดขึ้น ณ?GWM Experience Center?ไอคอนสยาม พร้อมถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ทาง?Facebook?และ?YouTube?ของ?GWM Thailand, ORA Thailand, THE STANDARD?และ?THE STANDARD WEALTH??โดยมีคุณณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย),?คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT),?คุณวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย?(EGAT)?และคุณดวงดาว ขาวเจริญ ผู้อำนวยการกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา?(สศอ.)?มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ โดยมี ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน พิธีกรชื่อดังเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยภายในงานมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจมากมาย ในหัวข้อดังต่อไปนี้


ภาพรวมการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า

จากข้อมูลการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดโลกเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์สันดาปภายในช่วงระหว่างปี?2560?และ?2565?ในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จะเห็นได้ว่า ในปี?2560?มีรถยนต์ไฟฟ้า?1.2?ล้านคัน และ รถยนต์สันดาปภายใน?85.09?ล้านคัน หรือคิดเป็นสัดส่วนในจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล?70?คันจะมีรถยนต์ไฟฟ้า?1?คัน แต่ในปี?2565?พบว่า มีการขายรถยนต์สันดาปภายในลดลงเหลือเพียง?63.2?ล้านคัน ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ามียอดขายสูงถึง?10.6?ล้านคัน ซึ่งถือเป็นปีแรกที่มียอดขายเกินกว่า?10?ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วน?1:7?ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่ก้าวกระโดดในระยะเวลาเพียง?5?ปี โดยประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ ประเทศจีนที่มีสัดส่วนการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าที่ค่อนข้างหนาแน่น คือ?1:4?หรือทุก ๆ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล?4?คันจะมีรถยนต์ไฟฟ้า?1?คัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีสัดส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งโลกประมาณ?18 %?ซึ่งคาดว่าในปี?2573?จะมีสัดส่วนมากถึง?60 ? 85%

เมื่อมองถึงวิวัฒนาการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม?-?กันยายนของปีนี้ ประเทศไทยได้มีการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ทุกประเภทไปแล้วมากถึง??67,933?คัน เป็นรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลสูงถึง?50,344?คัน รวมถึงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี?2565?พบว่าในไทยมีการยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง?400%

ถอดบทเรียนความสำเร็จจากประเทศจีน

จากภาพรวมการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ประเทศจีนถือเป็นประเทศหลักของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในโลก โดยสามารถถอดบทเรียนความสำเร็จของประเทศจีน ผ่านกลยุทธ์?Push?และ?Pull?พบว่ามี 3 ปัจจัยด้วยกันที่ผลักดันให้อัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย?1)?การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้งาน รวมถึงการวางแผนเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ครอบคลุม?2)?การออกนโยบายส่งเสริมที่แข็งแกร่งของภาครัฐจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศและความพร้อมในการสนับสนุนจากภาคเอกชน และการวาง?Roadmap?ที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า?3)?การสนับสนุนการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่

สำหรับนโยบายของภาครัฐ จีนมีแผนการพัฒนาชาติอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ภายในปี?2030?รถยนต์ที่ขายจะต้องมีสัดส่วนของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า?40%?และมีการออกนโยบายทั้งแบบ?tax?และ?non-tax?ไม่ว่าจะเป็น การลดค่าจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ การให้เงินสนับสนุนในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า การให้สิทธิพิเศษแก่รถยนต์ไฟฟ้าด้านการกำหนดวันและเวลาของการวิ่ง เรื่องที่จอดพิเศษ ฯลฯ นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังเปิดให้ผู้เล่นต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถอย่าง?Tesla?เข้ามาลงทุนในประเทศ ซึ่งสร้างความตื่นตัวให้กับผู้เล่นในตลาด เกิดเป็นการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมยานยนต์

โครงสร้างพื้นฐานด้านการเติบโตของสถานีชาร์จไฟฟ้าในไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีหัวจ่ายสาธารณะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารวมการชาร์จทั้งแบบ?DC?และ?AC?มากกว่า?4,000?หัวจ่าย จากทั้งหมดกว่า?1,400?สถานีทั่วประเทศ โดยเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับของโลกจะเห็นได้ว่า ปริมาณหัวจ่าย?DC?สาธารณะตามค่าเฉลี่ยทั่วโลกนั้นอยู่ที่?1516?คัน ต่อ?1?หัวจ่ายสาธารณะ ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่?20?คัน ต่อ?1?หัวจ่ายสาธารณะ แสดงให้เห็นว่าการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโตรวดเร็วกว่าสถานีชาร์จ โดยเมื่อเทียบกับตลาดสำคัญอย่างประเทศจีนพบว่า อยู่ที่ 7 คัน ต่อ 1 หัวจ่าย ดังนั้น การสนับสนุนการขยายโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จไฟฟ้าจากภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อให้มีการขยายสถานีเครือข่ายที่ครอบคลุมการใช้งานจึงมีความสำคัญ

เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้เดินหน้าตามแผนการขยายสถานีชาร์จให้เพียงพอต่อความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในไทย โดยมีสถานีอัดประจุไฟฟ้า?G-Charge Supercharging Station?ใจกลางเมืองย่านสยามสแควร์ที่ชาร์จเร็วด้วยกำลังไฟฟ้าสูงสุดถึง 160 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่ง?G-Charge Supercharging Station?แห่งนี้ ถือเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้าขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทยของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัวสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่?GWM Partner Store?ไปแล้ว?22?แห่ง ซึ่งเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (DC Fast Charge)?และในปีนี้?GWM?วางแผนขยายสถานี?DC Fast Charge?เป็นทั้งสิ้น?55?แห่งครอบคลุมในทุกภูมิภาคของไทย พร้อมให้บริการผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าทุกแบรนด์ เพื่อยกระดับระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้มีความพร้อมและตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคในอนาคต

วิวัฒนาการของนโยบายเพื่อการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการใช้รถยนต์พลังงานใหม่เกิดจากสถานการณ์สภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ซึ่งได้เดินหน้าสู่??ภาวะโลกเดือด??หรือ??Global Boiling??ก่อให้เกิดการร่วมมือกันของหลาย ๆ ประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตั้งเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยหลาย ๆ ประเทศทั้งในยุโรป และประเทศจีนมีการห้ามหรือจำกัดการจำหน่ายรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป รวมถึงการที่ผู้ประกอบการหลายแบรนด์มุ่งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในผู้นำการผลิตและส่งออกยานยนต์หลักของโลก ก็ต้องมีการปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งภาครัฐเองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและมีการออกนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี?2561?และไม่เคยหยุดการพัฒนาอันนำมาสู่การตั้ง?คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บอร์ด?EV?รวมถึงการออกนโยบายที่เข้มข้นและต่อเนื่องอย่าง?นโยบาย?30@30?และยังคงเผื่อเวลาให้กับรถยนต์ไฟฟ้าสันดาปได้เตรียมตัวเพื่อเดินหน้าสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ

โดยนโยบาย??30@30?หรือ แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)??ได้มีการออกมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้มข้นอย่างต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น?3?ด้านหลัก ๆ ได้แก่

  1. ด้านการผลิต?ส่งเสริมการลงทุนทั้งในด้านการผลิตและชิ้นส่วน เพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้าสู่ตลาดไทย
  2. การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในด้านภาษี และไม่ใช่ภาษี?อาทิ การลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก?8%?เป็น?2%?และการเปิดให้นำเข้ารถยนต์มาทดลองตลาด ภายใน 2 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องผลิตชดเชยภายในประเทศ รวมไปถึงการกำหนดให้ใช้ชิ้นส่วนสำคัญภายในประเทศเพื่อกระตุ้นการสร้างซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เติบโตมากขึ้น
  3. การส่งเสริมด้านการตลาดในประเทศ?สนับสนุนภาครัฐให้มีการจัดซื้อจัดจ้างรถยนต์ไฟฟ้า อาทิ รถที่ใช้ในงานราชการ
    รถประจำตำแหน่ง รวมไปถึงการวางแผนปรับเปลี่ยนรถสาธารณะสู่พลังงานไฟฟ้า

ความท้าทายของไทยในการไปสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า

หนึ่งในความท้าทายของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าคือ การที่นโยบายและโครงสร้างพื้นฐานจะต้องเติบโตตามทันความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อปรับใช้และรองรับให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ครอบคลุม ทั้งมาตรการส่งเสริมการใช้ มาตราการส่งเสริมการผลิต และมาตรการการขยายสถานีชาร์จ เพื่อให้พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน

จากมุมมองผู้ผลิต เกรท วอลล์ มอเตอร์ เชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า แต่ยังคงมีความท้าทายอยู่ โดยแบ่งออกเป็น?3?ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้

  1. ด้าน?Localization?การผลิตภายใต้นโยบายการส่งเสริมการลงทุนนั้น ต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศ?(Local Content)?อย่างต่ำ?40%?ซึ่งปัจจุบันซัพพลายเชนในประเทศยังเป็นการผลิตรถยนต์สันดาปภายในอยู่ ซึ่งทำให้การหาซัพพลายเออร์และชิ้นส่วนให้ได้?40%?นั้นถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของรถไฟฟ้า เกรท วอลล์ มอเตอร์ จึงได้นำ?SVOLT?เข้ามาเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทยเพื่อเพิ่มสายพานการผลิตแบตเตอรี่ให้กับการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์?ORA?รองรับความต้องการยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด
  2. ความท้าทายของจำนวนการผลิตและการขาย โดย?OEM?ที่เข้านโยบายการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐจะต้องผลิตรถยนต์ให้ได้?1.5, 2,?และ?3?เท่าของจำนวน?CBU?ที่ได้ขายไป ซึ่งในปัจจุบันได้เริ่มเห็นการทำสงครามราคาแล้ว รวมถึงยังมีค่ายใหม่ ๆ ที่จะมีเข้ามาอีกในปีหน้า ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการบริหารเรื่องการขายและสต็อกในการผลิต ยิ่งไปกว่านั้น จะสามารถทำให้ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและในภูมิภาคเติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สัมพันธ์กับอุปทานในการผลิตได้อย่างไร
  3. ด้านนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า?ซึ่งต้องมีความต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนที่ต้องดึงดูดใจและช่วยเหลือในระยะยาว

ด้าน?คุณณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย)?ได้เผยมุมมองของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ต่ออนาคตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย กล่าวว่า??เกรท วอลล์ มอเตอร์ เล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดยานยนต์ในประเทศไทยนั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เราเข้ามาสู่ตลาดแห่งนี้ตั้งแต่ปี?2564?โดยเรามุ่งหน้าดำเนินงานด้วย?3?กลยุทธ์หลัก ได้แก่?Mission 9 in 3?การเปิดตัวยานยนต์คุณภาพภายใน?3?ปี การรับฟังเสียงของผู้บริโภค รวมถึงการมุ่งหน้าส่งมอบสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีความเชื่อมั่นต่อการพัฒนาและการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และพร้อมที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไฮบริด ปลั๊กอิน-ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในไปสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า เรามั่นใจว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนและระดับโลกได้อย่างแน่นอน และเราจะยังคงเดินหน้าเติมเต็มระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในไทย รวมถึงเริ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า?ORA Good Cat?ในประเทศไทย นอกจากนี้เรายังมองไปถึงโอกาสทางธุรกิจที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยและเศรษฐกิจไทย ทั้ง ซอฟแวร์ เอไอ และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ อีกมาก เป็นส่วนประกอบในการสร้าง?S Curve?ที่แข็งแรงให้กับเศรษฐกิจไทย โดยมี เกรท วอลล์ มอเตอร์ ยืนหยัดเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันยานยนต์พลังงานไฟฟ้าให้เติบโตอย่างยั่งยืนในประเทศไทย?

เกรท วอลล์ มอเตอร์ ในฐานะบริษัทที่ให้บริการเทคโนโลยีอัจฉริยะระดับโลก (Global Intelligent Technology Company)?พร้อมยกระดับและเติมเต็มการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ด้วยการขยายความร่วมมือและผนึกกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้บรรลุเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง